มัลติมิเตอร์ คืออะไร?
มัลติมิเตอร์ ถือว่าเป็นเครื่องมือวัดที่จำเป็นสำหรับงานด้านอิเล็คทรอนิกส์ เพราะว่าเป็นเครื่องวัดที่ใช้ค่าพื้นฐานทางไฟฟ้าคือ แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าและความต้านทานไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบหรือการตรวจซ่อมวงจรต่าง ๆ ก็จำเป็นต้องวัดค่าเหล่านั้นทั้งสิ้น มัลติมิเตอร์เป็นการรวม โวลต์มิเตอร์ แอมป์มิเตอร์ และ โอห์มมิเตอร์ ไว้ในตัวเดียวกัน และใช้มูฟเมนต์ตัวเดียว จึงเรียก “VOM” (Volt-Ohm-Milliammeter) นอกจากนี้ VOM ยังสามารถนำไปวัดค่าอื่น ๆ ได้อีก เช่น วัดอัตราการขยายกระแสของทรานซิสเตอร์ วัดค่าความดัง ฯลฯ
Multimeter จัดเป็นหนึ่งในเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าที่สำคัญและเป็นเครื่องมือวัดพื้นฐานของวิศวกร, ช่าง รวมถึงบุคคลทั่วไปที่ต้องการวัดค่าทางไฟฟ้าพื้นฐานต่างๆ เช่น กระแส, แรงดัน, ตัวต้านทาน เป็นต้น โดยมัลติมิเตอร์ แบ่งเป็นประเภทหลักได้ 2 ประเภท ได้แก่
1. ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ (Digital Multimeter)
2. อนาล็อกมัลติมิเตอร์ (Analog Multimeter)
2. อนาล็อกมัลติมิเตอร์ (Analog Multimeter)
มัลติมิเตอร์ ทั้ง 2 แบบนี้มีข้อดี ข้อเสียต่างกัน บางคนชอบแบบเข็มชี้ เพราะว่ามองเห็นการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงอย่างชัดเจน ต่างกับแบบดิจิตอลซึ่งตัวเลขจะวิ่ง สังเกตค่าตัวเลขที่แน่นอนได้ยาก ยกเว้น ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ บางรุ่นที่สามารถอ่านค่าตัวเลขออกมาได้ทันที สะดวกสบายไม่ต้องคำนึงถึงขั้วมิเตอร์ว่าวัดถูกหรือผิดเพราะว่ามีเครื่องหมาย บอกให้เสร็จ ส่วนแบบแอนาลอกจะมีปัญหาเรื่องนี้ และการไม่เป็นเชิงเส้นของสเกลด้วย
ส่วนประกอบภายนอกของมัลติมิเตอร์แบบเข็ม
1.สกรูปรับเข็มชี้ให้ตรงศูนย์
2.ย่านการวัดต่างๆ
3.ขั้วต่อขั้วบวก (+)ใช้ต่อสายวัดสีแดง
4.ขั้วต่อขั้วลบ (-)ใช้ต่อสายวัดสีดำ
5.ขั้วต่อเอาต์พุตเพื่อวัดความดัง
6.ปุ่มปรับ 0โอห์ม
7.สวิตช์ตัวเลือกย่านการวัด
8.เข็มชี้
2.ย่านการวัดต่างๆ
3.ขั้วต่อขั้วบวก (+)ใช้ต่อสายวัดสีแดง
4.ขั้วต่อขั้วลบ (-)ใช้ต่อสายวัดสีดำ
5.ขั้วต่อเอาต์พุตเพื่อวัดความดัง
6.ปุ่มปรับ 0โอห์ม
7.สวิตช์ตัวเลือกย่านการวัด
8.เข็มชี้
ส่วนประกอบที่สำคัญของ มัลติมิเตอร์ แบบดิจิตอล
1. จอแสดงผล
2. สวิตซ์เปิด-ปิด
3. สวิตช์เลือกปริมาณที่จะวัดและช่วงการวัด สามารถเลือกการวัดได้ 8 อย่าง ดังนี้
3.1 DCV สำหรับการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสตรง มี 5 ช่วงการวัด
3.2 ACV สำหรับการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสสลับ มี 5 ช่วงการวัด
3.3 DCA สำหรับการวัดปริมาณกระแสตรง มี 3 ช่วงการวัด
3.4 ACA สำหรับการวัดปริมาณกระแสสลับ มี 2 ช่วงการวัด
3.5 สำหรับการวัดความต้านทาน มี 6 ช่วงการวัด
3.6 CX สำหรับการวัดความจุไฟฟ้า มี 5 ช่วงการวัด
3.7 hFE สำหรับการวัดการขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์
3.8 สำหรับตรวจสอบไดโอด
4. ช่องเสียบสายวัดร่วม ใช้เป็นช่องเสียบร่วมสำหรับการวัดทั้งหมด (ยกเว้นการวัด CX และ hFE ไม่ต้องใช้สายวัด)
5. ช่องเสียบสายวัด mA สำหรับวัด DCA และ ACA ที่มีขนาด 0-200 mA
6. ช่องเสียบสายวัด 10A สำหรับวัด DCA และ ACA ที่มีขนาด 200 mA-10A
7. ช่องเสียบสำหรับวัดการขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์
8. ช่องเสียงสำหรับวัดความจุไฟฟ้า
9. ช่องเสียบสายวัด V
2. สวิตซ์เปิด-ปิด
3. สวิตช์เลือกปริมาณที่จะวัดและช่วงการวัด สามารถเลือกการวัดได้ 8 อย่าง ดังนี้
3.1 DCV สำหรับการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสตรง มี 5 ช่วงการวัด
3.2 ACV สำหรับการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสสลับ มี 5 ช่วงการวัด
3.3 DCA สำหรับการวัดปริมาณกระแสตรง มี 3 ช่วงการวัด
3.4 ACA สำหรับการวัดปริมาณกระแสสลับ มี 2 ช่วงการวัด
3.5 สำหรับการวัดความต้านทาน มี 6 ช่วงการวัด
3.6 CX สำหรับการวัดความจุไฟฟ้า มี 5 ช่วงการวัด
3.7 hFE สำหรับการวัดการขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์
3.8 สำหรับตรวจสอบไดโอด
4. ช่องเสียบสายวัดร่วม ใช้เป็นช่องเสียบร่วมสำหรับการวัดทั้งหมด (ยกเว้นการวัด CX และ hFE ไม่ต้องใช้สายวัด)
5. ช่องเสียบสายวัด mA สำหรับวัด DCA และ ACA ที่มีขนาด 0-200 mA
6. ช่องเสียบสายวัด 10A สำหรับวัด DCA และ ACA ที่มีขนาด 200 mA-10A
7. ช่องเสียบสำหรับวัดการขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์
8. ช่องเสียงสำหรับวัดความจุไฟฟ้า
9. ช่องเสียบสายวัด V
0 ความคิดเห็น