เครื่องวัดความชื้นปูน
เครื่องวัดความชื้นปูน
เครื่องวัดความชื้นปูน การทดสอบความชื้นพื้นปูน Moisture Content ของพื้นปูนก่อนการทาสีอีพ็อกซี่นั่นเป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆ หากเราไม่รู้หรือไม่มีการทดสอบความชื้นของคอนกรีตแล้ว การทาสีอีพ็อกซี่หรือสีอื่นลงไปก็มีแต่ความเสี่ยงที่จะเกิดการหลุดร่อนและสร้างปัญหาใหญ่ให้กับเราในอนาคต
การทดสอบความชื้นพื้นปูนคือการวัดค่า “Moisture Vapor Transmission” การไหลผ่านของไอความชื้นจากผิวดินข้างล่างขึ้นมาที่ผิวคอนกรีต เป็นสภาวะของการปรับสมดุลของความชื้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและความชื้นระหว่างความชื้นในผิวดินกับผิวคอนกรีต เช่น ถ้าอุณหภูมของผิวคอนกรีตแห้งกว่าที่พื้นดิน ความชื้นก็จะทำการปรับสมดุลโดยการดันชื้นจากดินผ่านเข้ามาผิวหน้าปูน เป็นต้น
พื้นคอนกรีตดูเหมือนแข็งและมีความหนาแนานสูงแต่ที่จริงแล้วคอนกรีตก็เหมือนฟองน้ำนี่เอง มีรูพรุนมาก ทำให้เกิดการดูดซับหรือซึมผ่านของน้ำได้ ดังนั้นเมื่อมีไอน้ำหรือหรือความชื้นที่ใต้ดินติดกับผิวคอนกรีตก็สามารถซึมผ่านผิวคอนกรีตด้วยกระบวนการ “Hydrostatic Pressure” ได้ แต่เมื่อเราทำการทาสี Epoxy หรือสีอื่นทับลงที่ผิวคอนกรีต พื้นพวกนี้ไม่ยอมให้ความชื้นหรือไอไหลผ่านได้เพราะผิวสารเคลือบพื้นไม่มีรูพรุน ความชื้นจึงพยายามดันผ่านฟิล์มสีออกมา จึงทำให้เกิดการฟอง บวมและสีหลุดร่อน
การทดสอบความชื้นพื้นปูน ด้วยการสังเกตุด้วยตาเปล่านั้น สามารถทำไดโดยให้ทำการสังเกตุลักษณะของพื้นปูนว่ามีคลาบขาวของปูนหรือเปล่า ซึ่งคลาบขาวนี้เราเรียกว่า “Efflorescence” ซึ่งเกิดจากความชื้นที่ไหลผ่านคอนกรีตแล้วเกิดการควบแน่นของไอน้ำ เกิดเป็นคลาบของแคลเซียมไฮดรอกไซด์
หากไม่แน่ในหรือเชื่อมั่นในการวิเคราะห์ผล การทดสอบความชื้นพื้นปูนด้วยวิธีข้่้างต้น ท่านสามารถทดสอบด้วยวิธีการทดสอบจะออกมาเป็นตัวเลข คือ หากค่าการทดสอบได้ค่าน้อยกว่า 4 แสดงว่าพื้นมีความชื้นปูนต่ำ ท่านสามารถทำการทาสี Epoxy ได้เลย
เครื่องวัดความชื้นปูน

ระดับความชื้นในคอนกรีตที่เหมาะสมสำหรับงาน Furnishings ที่ต้องมีการปิดคลุมผิวคอนกรีต (Coverings) จะขึ้นอยู่กับการใช้งานและการตกแต่งพื้นในภายหลัง ในพื้นคอนกรีตที่เปิดโล่งอาทิเช่น พื้นโรงงานและพื้นโกดัง
ความชื้นจากใต้พื้นดินจะสามารถส่งผ่านขึ้นมาสู่ผิวบนของคอนกรีตได้ง่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่ได้ใช้วัสดุกั้น (Barrier) หรือวัสดุหน่วงการระเหยของไอน้ำ (Vapor Retarders) ก่อนการเทคอนกรีต ความชื้นในคอนกรีตจะเปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลายเป็นไออย่างช้าๆ โดยจะเกิดขึ้นบริเวณผิวหน้าของพื้นคอนกรีตโดยมากมักไม่มีผลทำให้เกิดความเสียหายใดๆ อย่างไรก็ตามหากอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศเหมาะสม ความชื้นจากคอนกรีตที่ระเหยขึ้นมาจะกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำบนผิวหน้าของคอนกรีตได้ ทำให้วัสดุปิดผิวบวมหรือถึงกับหลุดร่อนออกมา
วิธีการลดโอกาสการเกิดการกลั่นตัว (Condense) ของความชื้นภายในคอนกรีตจนกลายเป็นหยดน้ำ สามารถทำได้หลายวิธีตั้งแต่การพยายามรักษาระดับความชื้นสัมพัทธ์บริเวณผิวบนของคอนกรีตให้ต่ำกว่า 85%
ในกรณีที่พื้นมีการขัดมันหรือมีการเคลือบวัสดุประเภทปรับปรุงคุณสมบัติของผิวหน้าคอนกรีตโดยไม่ได้ใช้วัสดุกั้นหรือหน่วงการระเหยของไอน้ำ สามารถยินยอมให้มีระดับความชื้นสัมพัทธ์บริเวณผิวบนของคอนกรีตได้ไม่เกิน 95% การขัดผิวหน้าของพื้นเช่นการพ่นเม็ดเหล็ก (Shotblasting) จะช่วยทำให้ความชื้นจากภายในคอนกรีตสามารถระบายอากาศได้อย่างสะดวก ทำให้ความชื้นสัมพัทธ์บริเวณผิวบนของคอนกรีตลดต่ำลงได้ แต่อย่างไรก็ดีการขัดผิวหน้าออกจะทำให้ความสามารถในการรับแรงขัดสีลดน้อยลง
การวัดระดับความชื้นในคอนกรีตสามารถวัดได้โดยอุปกรณ์ที่ใช้วัดความชื้นโดยเฉพาะซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศด้วยการเจาะรูเข้าไปในพื้นคอนกรีตที่ความลึก 1/3 ของความหนาของพื้น และหย่อนหัววัด (Probe) ลงไปแล้วปิดรูด้วยวัสดุกั้นความชื้น ทิ้งเอาไว้เป็นเวลา 3 วันแล้วจึงอ่านค่าความชื้นในพื้นคอนกรีต โดยระดับความชื้นสูงสุดในคอนกรีตที่เหมาะสมสำหรับงาน Furnishings