พลังงานชีวมวล
พลังงานชีวมวล หรือ พลังงานมวลชีวภาพ (Biomass Energy) คือ พลังงานที่ถูกเก็บสะสมอยู่ในสิ่งมีชีวิตหรือสารอินทรีย์ทั่วๆ ไปตามธรรมชาติหรือในชีวมวล(Biomass) ที่เราสามารถนำมาผลิตเป็นพลังงานทดแทนได้ เช่น ต้นหญ้า ต้นไม้ กิ่งไม้ หรือเศษวัสดุที่เหลือจากการเกษตรหรือการอุตสาหกรรม เช่น ฟาง ขี้เลื่อย แกลบ ชานอ้อย เศษไม้ เปลือกไม้ มูลสัตว์ รวมทั้งของเหลือหรือขยะจากครัวเรือนมนุษย์ โดยอาจจะไม่ต้องผ่านหรือต้องผ่านกระบวนการแปรรูปเพื่อนำมาใช้เป็นพลังงานในรูปแบบที่สามารถใช้ได้ การไม่ผ่านการแปรรูปเลย เช่น การเผาเพื่อให้ได้พลังงานความร้อน ส่วนการต้องผ่านการแปรรูป เช่น ทำให้เป็นกลายเอทานอล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพ, ความสะดวกและความต้องการจะใช้งานรูปแบบใดมากกว่ากัน
ชีวมวล หรือ มวลชีวภาพ (Biomass) คือ สารอินทรีย์ทั่วๆไปจากธรรมชาติ ที่จะสะสมพลังงานเก็บเอาไว้ในตัวของมันเอง และสามารถนำพลังงานของมันที่เก็บสะสมเอาไว้มาใช้ประโยชน์ได้
ตัวอย่างของสารอินทรีย์
เช่น เศษหญ้า เศษไม้ เศษวัสดุเหลือที่ทิ้งจากการเกษตรหรือจากการอุตสาหกรรม เช่น ขี้เลื่อย ฟาง แกลบ ชานอ้อย เป็นต้น
แกลบ ได้จากการสีข้าวเปลือก
ชานอ้อย ได้จากการผลิตน้ำตาลทราย
เศษไม้ ได้จากการแปรรูปไม้ยางพาราหรือไม้ยูคาลิปตัสเป็นส่วนใหญ่ และบางส่วนได้จากสวนป่าที่ปลูกไว้
กากปาล์ม ได้จากการสกัดน้ำมันปาล์มดิบออกจากผลปาล์มสด
กากมันสำปะหลัง ได้จากการผลิตแป้งมันสำปะหลัง
ซังข้าวโพด ได้จากการสีข้าวโพดเพื่อนำเมล็ดออก
กาบและกะลามะพร้าว ได้จากการนำมะพร้าวมาปลอกเปลือกออกเพื่อนำเนื้อมะพร้าวไปผลิตกะทิ และน้ำมันมะพร้าว
ส่าเหล้า ได้จากการผลิตแอลกอฮอล์เป็นต้น
สาหร่าย ได้จากการสกัดน้ำมันดิบออกจากสาหร่ายสด
หญ้าเนเปียร์
ชานอ้อย ได้จากการผลิตน้ำตาลทราย
เศษไม้ ได้จากการแปรรูปไม้ยางพาราหรือไม้ยูคาลิปตัสเป็นส่วนใหญ่ และบางส่วนได้จากสวนป่าที่ปลูกไว้
กากปาล์ม ได้จากการสกัดน้ำมันปาล์มดิบออกจากผลปาล์มสด
กากมันสำปะหลัง ได้จากการผลิตแป้งมันสำปะหลัง
ซังข้าวโพด ได้จากการสีข้าวโพดเพื่อนำเมล็ดออก
กาบและกะลามะพร้าว ได้จากการนำมะพร้าวมาปลอกเปลือกออกเพื่อนำเนื้อมะพร้าวไปผลิตกะทิ และน้ำมันมะพร้าว
ส่าเหล้า ได้จากการผลิตแอลกอฮอล์เป็นต้น
สาหร่าย ได้จากการสกัดน้ำมันดิบออกจากสาหร่ายสด
หญ้าเนเปียร์
เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด (wood pellets) จัดเป็นประเภทหนึ่งของเชื้อเพลิงที่ทำจากไม้ ซึ่งโดยทั่วไปจะผลิตจากขี้เลื่อยหรือเศษวัสดุจากการผลิตไม้แปรรูป หรือเศษไม้ที่เหลือใช้จากโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ และยังรวมถึงไม้จากการโค่นต้นไม้ที่ไม่จำเป็นหรือยืนต้นตาย การตัดแต่งกิ่งไม้ เป็นต้น เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด มีการผลิตในหลากหลายรูปแบบและยังมีคุณภาพสินค้าที่หลากหลายขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ ทั้งที่เป็นเชื้อเพลิงสำหรับโรงไฟฟ้า, การให้ความร้อนกับที่อยู่อาศัยและการใช้งานประเภทอื่นๆ เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด มีความหนาแน่นสูงมากจากกระบวนการผลิต และจากกระบวนการให้ความร้อนสูงทำให้มีความชื้นต่ำ (ต่ำกว่า 10%) ซึ่งช่วยให้เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด สามารถที่จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพการเผาไหม้ที่สูงมาก
นอกจากนี้ด้วยรูปทรงของตัวเชื้อเพลิงที่เป็นรูปทรงกระบอกมีขนาดค่อนข้างเท่ากันทุกชิ้น และมีขนาดเล็กทำให้สามารถที่จะนำระบบการป้อนเชื้อเพลิงอัตโนมัติมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถกำหนดปริมาณของเชื้อเพลิงได้อย่างแม่นยำ โดยสามารถใช้ระบบการปล่อยเชื้อเพลิงแบบกรวย หรือระบบสายพานแบบนิวเมตริกก็ได้เช่นเดียวกัน. เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดมีความหนาแน่นสูงมาก (650-700 Kg/CBM) ทำไห้ได้เปรียบเชื้อเพลิงชีวมวลประเภทอื่นทั้งในด้านของพื้นที่ในการจัดเก็บและด้านการขนส่งในระยะทางที่ค่อนข้างไกลก็สามารถขนได้ในปริมาณที่มาก. เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดสามารถที่จะขนถ่ายจากที่เก็บขนาดใหญ่ให้กับรถขนส่งหรือไซโล (Silo) ตามความต้องการของลูกค้าได้โดยสะดวก.
ในส่วนของเตาเผาเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด ซึ่งมีหลากหลายประเภททั้งเตาเผาให้ความร้อนส่วนกลางและเตาเผาสำหรับการใช้งานประเภทต่างๆ ได้รับการพัฒนาและมีการขายในเชิงพาณิชย์มาตั้งแต่ปี 1999. การปรับขึ้นราคาอย่างรวดเร็วของเชื้อเพลิงฟอซซิลในปี 2005 ทำให้ความต้องการเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดเพิ่มขึ้นทั้งในทวีปยุโรปและอเมริกา ทำให้เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดมีการผลิตในระดับที่เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้เกิดขึ้น ตามข้อมูลของ International Energy Agency Task 40 กล่าวว่าการผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดได้เพิ่มขึ้นเป็นเท่า ตัวในช่วงระหว่างปี 2006 ถึง 2010 มีปริมาณการผลิตมากกว่า 14 ล้านตัน และในรายงานปี 2012 ของ Biomass Energy Resource Center กล่าวว่า ปริมาณการผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดในทวีปอเมริกาเหนือจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวภายในห้าปีข้างหน้านี้. ข้อดีของเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด
1. สะดวกในการขนส่ง และประหยัดค่าขนส่งเมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงชีวมวลชนิดอื่นเนื่องจากมีความหนาแน่นสูง (Bulk Density) ประมาณ 650-700 กิโลกรัม/ลูกบากศ์เมตร ในขณะที่ชิ้นไม้สับจะมีความหนาแน่นอยู่ที่ประมาณ 300 กิโลกรัม/ลูกบากศ์เมตร และขี้เลื่อยความหนาแน่นที่ 200 กิโลกรัม/ลูกบากศ์เมตร.
2. สามารถควบคุมปริมาณการใช้ได้ง่ายเพราะมีขนาดที่เท่าๆกัน มีน้ำหนักที่ค่อนข้างแน่นอน ประสิทธิภาพของอัตราการเผาไหม้อยู่ที่มากกว่า 80% ของเตาเผา ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับผู้ประกอบการที่ใช้เตาเผาที่ต้องการอัตราการเผาไหม้ที่สม่ำเสมอ และมีการเผาไหม้ที่สมบูรณ์.
3. มีขี้เถ้าน้อยกว่าชีวมวลประเภทอื่น (3%) การจัดการขี้เถ้ามักจะเป็นปัญหาสำคัญของผู้ที่ใช้เชื้อเพลิงชีวมวล โดยเมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงชีวมวลประเภทอื่นนั้น Wood Pellets มีขี้เถ้าน้อยมากคือไม่เกิน 3% ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดขี้เถ้าส่วนเกินได้อีกทางหนึ่ง
4. ให้พลังงานความร้อนมากกว่าชีวมวลประเภทอื่น (High Heating Value) โดยมีค่า Net Calorific Value มากกว่า 16.5 MJ/kg แต่ถ้าเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลที่ไม่ได้มีการอัดและลดความชื้นค่าพลังงานจะอยู่ที่ประมาณ 10.9 MJ/kg เช่นไม้ฟืน ไม้สับ ขี้เลื่อย ขี้กบ สาเหตุที่เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดมีค่าพลังงานมากกว่าเป็นเพราะมีความชื้นน้อยกว่า 10% และเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดถือว่าเป็นแหล่งพลังงานที่มีค่าพลังงานสูง โดยเมื่อนำมาเปรียบเทียบค่าพลังงานกับน้ำมันเบานั้น เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด 2 กิโลกรัมจะเท่ากับน้ำมันเบา 1 ลิตรเลยทีเดียว ในขณะที่มีต้นทุนที่ต่ำกว่ามาก
5. ค่าความชื้นต่ำ (น้อยกว่า10%) ซึ่งจากผลวิจัยพบว่าค่าความชื้นของเชื้อเพลิงมีอัตราแปรผกผันกับค่าพลังงาน ยิ่งเชื้อเพลิงมีความชื้นมาก ก็หมายความว่าคุณกำลังซื้อน้ำ แทนที่จะได้เชื้อเพลิงในการผลิตพลังงาน.
6. เป็นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) หนึ่งในก๊าซเรือนกระจก (Green House Gas) ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน(Global Warming) เนื่องจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการเผาชีวมวลจะถูกหมุนเวียนกลับไปใช้โดยพืชเพื่อสังเคราะห์แสง (Carbon Offset)
2. สามารถควบคุมปริมาณการใช้ได้ง่ายเพราะมีขนาดที่เท่าๆกัน มีน้ำหนักที่ค่อนข้างแน่นอน ประสิทธิภาพของอัตราการเผาไหม้อยู่ที่มากกว่า 80% ของเตาเผา ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับผู้ประกอบการที่ใช้เตาเผาที่ต้องการอัตราการเผาไหม้ที่สม่ำเสมอ และมีการเผาไหม้ที่สมบูรณ์.
3. มีขี้เถ้าน้อยกว่าชีวมวลประเภทอื่น (3%) การจัดการขี้เถ้ามักจะเป็นปัญหาสำคัญของผู้ที่ใช้เชื้อเพลิงชีวมวล โดยเมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงชีวมวลประเภทอื่นนั้น Wood Pellets มีขี้เถ้าน้อยมากคือไม่เกิน 3% ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดขี้เถ้าส่วนเกินได้อีกทางหนึ่ง
4. ให้พลังงานความร้อนมากกว่าชีวมวลประเภทอื่น (High Heating Value) โดยมีค่า Net Calorific Value มากกว่า 16.5 MJ/kg แต่ถ้าเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลที่ไม่ได้มีการอัดและลดความชื้นค่าพลังงานจะอยู่ที่ประมาณ 10.9 MJ/kg เช่นไม้ฟืน ไม้สับ ขี้เลื่อย ขี้กบ สาเหตุที่เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดมีค่าพลังงานมากกว่าเป็นเพราะมีความชื้นน้อยกว่า 10% และเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดถือว่าเป็นแหล่งพลังงานที่มีค่าพลังงานสูง โดยเมื่อนำมาเปรียบเทียบค่าพลังงานกับน้ำมันเบานั้น เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด 2 กิโลกรัมจะเท่ากับน้ำมันเบา 1 ลิตรเลยทีเดียว ในขณะที่มีต้นทุนที่ต่ำกว่ามาก
5. ค่าความชื้นต่ำ (น้อยกว่า10%) ซึ่งจากผลวิจัยพบว่าค่าความชื้นของเชื้อเพลิงมีอัตราแปรผกผันกับค่าพลังงาน ยิ่งเชื้อเพลิงมีความชื้นมาก ก็หมายความว่าคุณกำลังซื้อน้ำ แทนที่จะได้เชื้อเพลิงในการผลิตพลังงาน.
6. เป็นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) หนึ่งในก๊าซเรือนกระจก (Green House Gas) ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน(Global Warming) เนื่องจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการเผาชีวมวลจะถูกหมุนเวียนกลับไปใช้โดยพืชเพื่อสังเคราะห์แสง (Carbon Offset)
ตารางแสดงสัดส่วนการเกิดชีวมวลต่อปริมาณผลผลิตที่ใช้ประเมินปริมาณการเกิดชีวมวลแต่ละชนิด
ชนิดพืช | ชนิดชีวมวล | สัดส่วนชีวมวลต่อผลผลิต(ตัน/ตันผลผลิต) |
---|---|---|
1. ข้าว | 1. ฟางข้าว | 0.49 |
2. แกลบ | 0.21 | |
2. อ้อย | 3. ใบและยอดอ้อย | 0.17 |
4. ชานอ้อย | 0.28 | |
3. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ | 5. ยอด ใบและลำต้นข้าวโพด | 1.84 |
6. ซังข้าวโพด | 0.24 | |
4. มันสำปะหลัง | 7. เหง้ามันสำปะหลัง | 0.2 |
8. กากมันสำปะหลัง | 0.06 | |
9. เปลือกมันสำปะหลัง | 0.28 | |
5. ปาล์มน้ำมัน | 10. ลำต้นปาล์มน้ำมัน | 1 |
11. ใบและทางปาล์ม | 1.41 | |
12. ทะลายปาล์มเปล่า | 0.32 | |
13. เส้นใยปาล์ม | 0.19 | |
14. กะลาปาล์ม | 0.04 | |
6. ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง | 15. ยอด ใบและลำต้น | 1.177 |
7. ยางพารา | 16. ตอ รากและกิ่งก้านไม้ยางพารา | 5 ตันต่อไร่ |
17. ปลายไม้ยางพารา | 12 ตันต่อไร่ | |
18. ปีกไม้ยางพารา | 12 ตันต่อไร่ | |
19. ขี้เลื่อยและเศษไม้ยางพารา | 3 ตันต่อไร่ | |
8. มะพร้าว | 20. จั่นและทะลายมะพร้าว | 0.29 |
21. เปลือกและกาบมะพร้าว | 0.33 | |
22. กะลามะพร้าว | 0.25 | |
9. มะม่วงหิมพานต์ | 23. เปลือกมะม่วงหิมพานต์ | 0.74 |
0 ความคิดเห็น