เครื่องตรวจโลหะใต้ดิน

คุณสมบัติทั่วไป

เครื่องตรวจโลหะใต้ดิน MD03 มีจานค้นหามาให้ 2 จาน
สำหรับการใช้งานปกติทั่วไป เช่น ภายในอาคาร หรือ บริเวณพื้นดินที่มีเศษโลหะปนอยู่มาก ให้ใช้จานเล็ก ซึ่งจะให้ความแม่นยำกว่า
สำหรับการใช้งานเฉพาะด้าน เช่น ภายนอกอาคาร หรือ บริเวณพื้นดินที่ไม่มีโลหะปนเปื้อน และ ของที่ต้องการหาอยู่ลึก ควรใช้จานใหญ่
การหาโลหะใต้พื้นดินหนา ไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบทางธรณีวิทยาได้ เนื่องจากมีแร่หลากหลายชนิดผสมปนอยู่ในเนื้อดิน ซึ่งแร่เหล่านี้ก็สามารถทำให้เครื่องตรวจหาโลหะส่งสัญญาณออกมาได้เช่นกัน สัญญาณจากแร่พวกนี้อาจกลบสัญญาณของโลหะที่ต้องการค้นหา ทำให้เกิดการเข้าใจผิดได้
คนที่เคยใช้ เครื่องตรวจหาโลหะรุ่นเก่า จะสังเกตเห็นเกิดการเปลี่ยนแปลงสัญญาณเมื่อจานเคลื่อนผ่านผิวหน้าดินที่ไม่สม่ำเสมอ หรือในกรณีที่จานเคลื่อนผ่านกองดิน หินหรือเศษอิฐ โอกาสที่เครื่องตรวจหาโลหะจะส่งสัญญาณมีสูง ลักษณะนี้เรียกว่า มีการปนเปื้อนของแร่ ด้วยเหตุนี้  เครื่องตรวจหาโลหะรุ่นเก่า จึงไม่สามารถหาของที่อยู่ลึกได้
เครื่องตรวจโลหะใต้ดิน MD03 เพิ่มระบบ ground balance เข้ามา เพื่อตัดการรบกวนจากการปนเปื้อนของแร่และเลือกค้นหาโลหะเท่านั้น
ข้อมูลทางเทคนิค
ความถี่ส่ง 6.99 KHz (+-2KHz)
ความถี่สัญญาณ 400 Hz
น้ำหนัก 4.5 kg
อุณหภูมิที่ใช้งาน -10 ~ 40C
ใช้ไฟ 12V
ความลึกสูงสุด : 5 เมตร (จานใหญ่)
2.5 เมตร (จานเล็ก)
ความลึกของการตรวจจับ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ผิวหน้าของบริเวณที่ค้นหา รูปร่างและปริมาณขนาดของวัตถุที่ต้องการค้นหา
โดยทั่วไป วัตถุยิ่งมีขนาดใหญ่ ยิ่งมีจำนวนมาก ก็ยิ่งสามารถถูกหาเจอในที่ลึกกว่าได้
ความลึกสูงสุดข้างต้น อ้างอิงโดยใช้ แผ่นอลูมิเนียม ขนาด 60 x 60 x 1 ซม. ฝังในดินแห้ง

เครื่องตรวจโลหะใต้ดิน

คำอธิบาย ส่วนควบคุมต่างๆ
เครื่องตรวจโลหะใต้ดิน
เครื่องตรวจโลหะใต้ดิน
ด้านล่างของมิเตอร์นี้ จะมีปุ่มกด เรียกว่า ปุ่มความจำ หากกดหนึ่งครั้ง วงจรความจำจะเริ่มทำงาน โดยเก็บค่าสภาพแวดล้อม ของสถานที่ๆทำการค้นหา  ตัวอย่างเช่น เมื่อจานอยู่เหนือดิน เครื่องจะส่งสัญญาณของดิน ถ้ากดปุ่มตอนนั้นเลย สัญญาณจะถูกตัดไป ดังนั้นไม่ควรกดปุ่มนี้ที่ใกล้โลหะ เพราะจะทำให้หาโลหะไม่เจอถ้าเอาไปใช้หาโลหะบริเวณอื่น หากกดปุ่มค้างไว้ เครื่องจะไม่ตอบสนองกับวัตถุใดๆทั้งสิ้น
ก่อนการปรับปุ่มควบคุมใดๆ ควรกดปุ่มความจำค้างไว้จนกว่าจะเสร็จสิ้นการปรับ
การเปลี่ยนสถานที่หรือสภาพแวดล้อม อาจทำให้เข็มเบี่ยงออกจากศูนย์
ถ้ากดปุ่มแล้วปล่อย ณ.ขณะนั้น เข็มจะตีกลับมาที่ตำแหน่งศูนย์ ระหว่างทำการค้นหา ต้องกดปุ่มแล้วปล่อยเป็นช่วงๆ
หากหมุนปุ่มนี้ไปตามเข็มนาฬิกา เสียงจะค่อยๆเพิ่มขึ้น จากไม่มีเสียง แล้วค่อยๆดังขึ้นเรื่อยๆ
ระหว่างทำการค้นหา ควรมีเสียงเบาสม่ำเสมอจากเครื่อง เสียงนี้เรียกว่า “threshold”
สิ่งที่ต้องทำคือค่อยๆปรับปุ่มนี้จนได้ยินเสียงครางเบาๆ ยิ่งเบาพอได้ยินเท่าไรยิ่งดี เครื่องมีความไวที่สุด ถ้าปรับเสียงเบาที่สุด
เมื่อทำการปรับเสียง threshold ต้องกดปุ่มความจำค้างไว้จนเสร็จ
ขณะทำการค้นหา เมื่อไรก็ตามถ้าระดับเสียง threshold เปลี่ยน ให้กดปุ่มความจำแล้วปล่อยทันที เพื่อเป็นการรีเซ็ต
ปุ่มควบคุมความไว หากหมุนทวนเข็มนาฬิกาจนสุด ค่าความไวเป็นต่ำสุด ความลึกในการตรวจจับจะตื้น ถ้าหมุนตามเข็มนาฬิกา ความไวจะค่อยๆเพิ่มขึ้น ตำแหน่งขวาสุด จะใด้ความไวสูงสุด ได้ความลึกในการตรวจจับมากสุด
แน่นอนที่สุด เราคาดหวังว่าเครื่องจะสามารถค้นหาได้ลึกๆ แต่อย่าลืมผลจากการปนเปื้อนของแร่ ในบริเวณที่มีการปนเปื้อนของแร่มาก ถ้าเพิ่มความไว จะทำให้การจับสัญญาณผิดพลาด เครื่องจะส่งสัญญาณทุกที่ทั่วบริเวณ ผลก็คือ ไม่สามารถหาอะไรเจอ ในสถานการณ์แบบนี้ เราควรลดความไวที่เหมาะสมเพื่อลดผลกระทบของการปนเปื้อนของแร่ ในบริเวณที่ดินมีความสม่ำเสมอ และไม่มีเศษโลหะ สามารถปรับความไวสูงๆได้ ทำให้หาของที่อยู่ลึกได้
หมายเหตุ : ทุกครั้งที่ปรับความไว ต้องกดปุ่มความจำแล้วปล่อยเสมอ